วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไม้เท้านำทางอาร์เอฟไอดี





ฉลาดที่จะคิด..สำหรับการนำเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี มาประยุกต์ใช้งานกับด้านสถาปัตยกรรม กับ "ระบบนำทางภายในอาคารเพื่อผู้พิการทางสายตาด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี"
ผลงานของนายรพี โพธิชัย นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจจะดูง่าย ๆ เหมือนกับการสร้างเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทั่วไป

แต่ นี่...ก็คือแนวคิดที่ไม่ธรรมดา เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบอาคารอัจฉริยะ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการนำทางให้ผู้พิการทางสายตา

งานวิจัยนี้เป็นการผสมผสานองค์ความรู้ในเชิงเทคโนโลยีและงานสถาปัตยกรรมสำหรับผู้พิการทางสายตา

สำหรับ ผู้พิการทางสายตา อาคารที่ไม่เคยไปมาก่อนและการเดินทางในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยยังคงเป็นเรื่อง ยากลำบาก เนื่องจากขาดข้อมูลนำทางหรือบ่งบอกตำแหน่ง  จึงจำเป็นต้องมีคนนำทางและคอยอธิบายเส้นทาง ถึงจะสามารถเข้าถึงพื้นที่และใช้การเรียนรู้เส้นทางในอาคารเพื่อสร้างความ คุ้นเคยก่อน

จึงเป็นความคิดที่ให้รพี  ผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี เพื่อพัฒนา ระบบนำทางภายในอาคารสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยเป็นต้นแบบให้ผู้พิการทางสายตา ได้ใช้งานในอาคาร ผ่านไม้เท้านำทางที่ติดเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี

หลักการทำงานของระบบต้นแบบ  ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสามส่วนหลัก ๆ
1.ส่วนป้ายสัญญาณและแผ่นพื้นต่างสัมผัส  ที่ฝังอยู่ใต้แผ่นพื้นต่างสัมผัสซึ่งบรรจุข้อมูลพิกัดตำแหน่งอาคาร
2. ส่วนอ่านป้ายสัญญาณ ที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณปลายไม้เท้า โดยใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อไปที่ส่วนประมวลผลและข้อมูลเสียง
3.ส่วน ประมวลผลและข้อมูลเสียง ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณมาประมวลผลเปรียบเทียบเลขรหัสป้ายสัญญาณกับข้อมูล เสียง และส่งต่อไปยังส่วนสังเคราะห์ข้อมูลเสียง ซึ่งจะบรรจุไฟล์เสียงตามประเภทของสิ่งกีดขวาง ทำหน้าที่บ่งบอกข้อมูลสิ่งกีดขวาง ตำแหน่งปัจจุบันและสภาพแวดล้อมเป็นข้อมูลคำพูดผ่านหูฟังมายังผู้ใช้งาน


จุดเด่นของผลงานนี้ เป็นการ บูรณาการองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและด้านเทคโนโลยีเพื่อออกแบบระบบ นำทาง ที่สามารถใช้งานในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และงานวิจัยนี้ก็ครอบคลุมแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อรองรับการใช้งานของระบบ นำทางนี้ด้วย โดยเลือกองค์พื้นฐานทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางแยก ทางเลี้ยว โถงทางเดิน ฯลฯ อันเป็นองค์ประกอบหน่วยย่อยซึ่งพบเห็นได้ในสถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาถึงการวางป้ายสัญญาณนั้น ควรวางอยู่ที่ตำแหน่งใด วางอย่างไร และข้อมูลที่บ่งบอกกับผู้พิการทางสายตานั้น ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ปัจจุบันแม้จะเป็นเพียงโครงงานงานวิจัย ที่ยังไม่มีการนำไปพัฒนาใช้งานจริง เนื่องจากต้องผ่านการทดสอบในสภาพแวดล้อมที่ใหญ่ขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้นแต่งานวิจัยชิ้นนี้...ก็คือจุดเริ่มต้น อีกหนึ่งมุมมองที่แสดงให้เห็นว่า แนวคิด "สถาปัตยกรรมพูดได้" ไม่ไกลเกินความจริง

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงานแสดง "การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554" ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม นี้ ที่ศูนย์การประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์





เรื่องเล่า
ข้อมูลจาก :